บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการสร้างและพัฒนา
ชุดการสอนเสริมทักษะการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20
สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน
หลังจากใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้การสร้างและพัฒนาชุดการสอน
เสริมทักษะการบวกและการลบจำนวน ที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุโขทัย เขต 2 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้การสร้างและพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และ
ตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
บ้านหนองบัว จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดการสอนเสริมทักษะ
การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของชุดการสอนเสริมทักษะการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้ง
ไม่เกิน 20 ฉบับก่อนเรียน จำนวน 1 ฉบับ และฉบับหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสร้างและพัฒนาชุดการสอน
เสริมทักษะการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 จำนวน 1 ฉบับ
วิเคราะห์ข้อมูล การหาประสิทธิภาพของการสร้างและพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะ
การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยการหาค่าร้อยละตามเกณฑ์
มาตรฐาน 80/80 ศึกษาผลการเรียนของนักเรียน โดยการทดสอบค่า t-test แบบ One Group,
Pre-test, Post-test, Design และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้การสร้างและพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และ
ตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการหาประสิทธิภาพของเอกสาร
ประกอบการเรียน พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างและพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการบวก
และการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.33/83.63 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ผลการเรียนของนักเรียนพบว่า ผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจ